หน้าหลัก
ข้อมูลโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน
ข้อมูลอาคารเรียน
สัญลักษณ์ประจำ
วิสัยทัศน์ / ปรัชญา
พันธกิจ / เป้าหมาย
หลักสูตร
กลุ่มบริหาร
คณะผู้บริหารโรงเรียน
กลุ่มงานบริหารวิชาการ
กลุ่มงานบริหารงบประมาณ
กลุ่มงานบริหารงานบุคคล
กลุ่มงานบริหารทั่วไป
กลุ่มสาระการเรียนรู้
กลุ่มสาระฯ ภาษาไทย
กลุ่มสาระฯ คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระฯ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มสาระฯ ภาษาต่างประเทศ
กลุ่มสาระฯ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
กลุ่มสาระฯ ศิลปะ
กลุ่มสาระฯ การงานอาชีพ
กลุ่มสาระฯ สุขศึกษาและพลศึกษา
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ฝ่ายสนับสนุนการสอน
ผลงานนักเรียน
ระบบเช็คชื่อ
สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง
สำหรับครู
ระบบติดตามงาน
สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง
สำหรับครู
ติดต่อเรา
ประชาสัมพันธ์ ::
:: ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร :: Welcome to Matthayom Wat Benchamabophit School
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ 42ตารางวา
ในครั้งสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามขึ้น และได้ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงการศึกษาเล่าเรียนอันจะเป็นรากเหง้าอุดหนุนความเจริญให้สำเร็จดังพระราชประสงค์นั้น จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ และเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เป็นกรรมการรับพระราชกระแสไปจัดการอันนี้ให้ต้องด้วยพระราชประสงค์
ส่วนตัวโรงเรียนซึ่งจะตั้งขึ้นเป็นที่ศึกษานั้น ได้ทรงพระราชดำริที่จะสร้างเป็นตึกสองชั้นให้มั่นคงถาวร ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชกระแสให้ช่างเขียนอย่างวางแผน และกะที่ปลูกต่อลง ณ ด้านใต้แห่งแนวกุฏิพระสงฆ์ ได้เริ่มจัดการก่อสร้างมาตั้งแต่รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ (ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๔๔) แต่การสร้างโรงเรียนซึ่งจะให้เป็นที่มั่นคงถาวรนั้น ต้องกระทำด้วยเวลาช้านานประการหนึ่งจึงทรงพระราชดำริว่า ควรจะสร้างโรงเรียนขึ้นด้วยไม้มุงจาก แต่พอให้พักจัดการเริ่มสอนนักเรียนไปพลางๆ ก่อน จนกว่าโรงเรียนอันถาวรจะได้สร้างสำเร็จ ดังที่พระราชทานพระราชกระแสว่า
“ขอให้ตระเตรียมหาตัวครู แลเครื่องมือที่สำหรับจะสอน เมื่อโรงเรียนที่จะปลูกใช้ไปพลางแล้วเสร็จเมื่อใดก็ให้ได้จับสอนทีเดียว ... การที่คิดนี้เปนคิดส่วนสอนศิศย์ซึ่งเปนฝ่ายคฤหัสถ์”
การสร้างโรงเรียนได้จัดขึ้นสำเร็จดังพระราชประสงค์ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เริ่มจัดการสอนนักเรียนตั้งแต่วันที่ ๕ พฤษภาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ เป็นต้นมา ในเบื้องต้นได้ทรงพระกรุณาฯ โปรดเกล้าให้ใช้เงินพระคลังข้างที่เป็นงบประมาณดำเนินการทดรองจ่าย อาคารได้ดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมา โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ทรงออกแบบผังอาคารและใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซึ่งเป็นสมบัติของพระราชโอรสสองพระองค์ ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรศิริประสาธน์ และเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เกสร ในการก่อสร้าง ใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณสองปี อาคารจึงได้สร้างสำเร็จบริบูรณ์
สืบมาจนในรัตนโกสินทรศก ๑๒๓ (ตรงกับพุทธศักราช ๒๔๔๗) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้มีการฉลองโรงเรียนพร้อมกับการก่อพระเจดีย์ทรายด้วย
ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดโรงเรียนในวันที่ ๑๑ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามโรงเรียนว่า “โรงเรียนเบญจมบพิตร” ดังปรากฏที่หน้าบันของอาคารว่า “โรงเรียนเบญจมบพิตร สร้างรัตนโกสินทรศก
๓๕
๑๒๑”
นักเรียนได้ขึ้นอาคารเรียนแห่งนี้นับตั้งแต่วันที่ ๑๒ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๓ เป็นต้นมา
หลักสูตรเบื้องแรก ของ โรงเรียนวัดเบ็ญจมบพิตร
เมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ และพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ร่วมกันคิดการสร้างโรงเรียนที่วัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ร.ศ. 119 และโรงเรียนได้จัดตั้งขึ้นในชั้นแรกได้สร้างที่เรียนชั่วคราวเป็นหลังคามุงจากในเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. 119 นั่นเอง (สมัยนั้นเริ่มนับวันที่ 1 เมษายน เป็นวันเริ่มศักราชใหม่) ขณะเดียวกันพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ และพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ ก็ได้ทรงร่วมและร่วมกันกำหนดหลักสูตรสำหรับโรงเรียนวัดเบญจมบพิตร ซึ่งอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกราบบังคมทูลให้สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงทราบฝ่าพระบาท
ศาลาว่าการมหาดไทย วันที่ 16 เดือน มกราคม ร.ศ. 119
หลักสูตรโรงเรียนวัดเบ็ญจมบพิตร
การสอนในโรงเรียนนี้จะจัดนักเรียนเปน 3 ชั้น และแบ่งวิชาที่จะสอนลงไปเปน 3 ตอน ทุกๆอย่าง ให้ตรงกับชั้นนักเรียน ตั้งต้นสอนวิชาเพียงง่ายๆ ไปตั้งแต่ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ที่ 3 เปนลำดับไป เมื่อนักเรียนเรียนตลอดชั้นที่ 3 ก็เปนอันจบวิชาที่จะสอนตามหลักสูตรนี้ อนึ่งในส่วนวิชาหนังสือไทยจะสอน 3 แพนก คือ สอนให้รู้จักอ่านหนังสือและให้เข้าใจความตามหนังสือที่อ่านนั้น จัดเปนวิชาสอนอ่านแพนก 1 สอนให้เขียนหนังสือให้ถูกต้องและให้เขียนงามและเขียนเร็ว ทั้งสอาดหมดจดด้วย จัดเปนวิชาสอนเขียนแพนก 1 สอนให้รู้จักเขียนคำพูดลงเปนตัวหนังสือ และให้รู้วิธีที่จะเรียงถ้อยคำให้ถูกต้องตามภาษา วิชาที่จะสอนทั้งหมดนั้นจัดไว้เปน 11 อย่าง และแบ่งเปนตอนๆ ตามชั้นนักเรียน
จำนวนผู้เข้าชม
คน เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561
แหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
สถาบันทดสอบทางการศึกษา (สทศ.)
การ Admissions (ทปอ.)
แหล่งเรียนรู้สำหรับครู
การพัฒนาชุมชนครูผู้เรียนรู้บนฐานนวัตกรรมฯ
การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
โทรทัศน์ครู
DLIT
มหกรรมทางการศึกษาเพื่อวิชาชีพครู